|
|
|
หมู่บ้านหนองแจง ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อราวปี พ.ศ.2494 หรือ ประมาณ 50 ปีที่แล้ว ราษฎรได้อพยพมาอาศัยพื้นที่แห่งนี้เพื่อทำมาหากิน ประมาณ 17 ครอบครัว พร้อมกับหมู่บ้านหนองหัวช้าง หรือบ้านโคกตายอในปัจจุบัน ต่อมามีพระคุณเจ้ารูปหนึ่งได้เดินธุดงค์มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้สร้างสำนักสงฆ์ที่บ้านโคกแจง ซึ่งเป็นพื้นที่มีหนองน้ำเล็กๆ มีความอุดมสมบูรณ์มีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่รอบ ๆ หนองน้ำ คือ ต้นแจง พระคุณเจ้าจึงตั้งชื่อว่า “บ้านหนองแจง” |
|
|
|
|
|
ประมาณปี พ.ศ.2496 ราษฎรได้อพยพมาเพิ่มมากขึ้น รวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโภชน์ อำเภอวิเชียร โดยมีนายจรูญ วิไลวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาได้แยกมาขึ้นกับตำบลซับสมอทอด กิ่งอำเภอหนองไผ่ และต่อมาตำบลซับสมอทอดได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบึงสามพัน บ้านหนองแจงได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลโดยมีนายจรูญ วิไลวรรณ เป็นกำนันคนแรก |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 7 ถนนสายสระบุรี - หล่มสัก ตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบึงสามพัน ห่างจากที่ว่าการอำเภอบึงสามพันประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเพชรบูรณ์ และห่างจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณ 75 กิโลเมตร ตำบลหนองแจง มีพื้นที่ทั้งหมด 84.12 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 52,575 ไร่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.บ้านโภชน์ |
อ.หนองไผ่ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.ซับสมอทอด และ ต.บึงสามพัน |
อ.บึงสามพัน |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.กันจุ |
อ.บึงสามพัน |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.พญาวัง |
อ.บึงสามพัน |
|
|
|
    |
|
|
|
|
|
|
ตำบลหนองแจง มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขาเตี้ยๆ เป็นบางส่วนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล และมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออก รวมระยะทางยาว 7 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีคลองธรรมชาติ 23 สาย หนองน้ำ บึง และสระสาธารณะ 35 แห่ง กระจายอยู่ทั่วไป ในส่วนของการคมนาคมมีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ผ่านกลางตำบล เข้าถึงทุกหมู่บ้าน ในฤดูฝนในที่ราบลุ่มจะประสบปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในพื้นที่นา ได้แก่ หมู่ที่ 2, 3, 4, 6, 7, 10, 13 และ 17 มีพื้นที่ประมาณ 7,060 ไร่ ส่วนในฤดูแล้งแหล่งน้ำจะตื้นเขิน ทำให้ไม่มีน้ำใช้เพียงพอสำหรับการเกษตร |
|
|
|
|
|
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลหนองแจงประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 961 ครัวเรือนโดยมีอาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา ทำไร่ และมีการปลูกพืชผัก พืชไร่ฤดูแล้งในพื้นที่นา นอกจากนั้นยังมีการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย เช่น การทำสวนผลไม้ การปลูกไม้ยืนต้น การเลี้ยงโค และไก่พันธุ์เนื้อ และการเลี้ยงปลา เป็นต้น ซึ่งการทำสวนผลไม้นั้น ไม้ผลที่ปลูก ได้แก่ ชมพู่ มะม่วง ซึ่งเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบล และมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และปริมาณรองรับความต้องการของตลาดได้
นอกจากนี้ ประชากรตำบลหนองแจงยังประกอบอื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ พนักงานรัฐ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน นักเรียน/นักศึกษา แม่บ้าน ฯลฯ และยังประกอบอาชีพเสริม ได้แก่ หัตถกรรมในครัวเรือน เช่น จักสาน เย็บผ้า ทอผ้า เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 7,597 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 3,784 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.81 |

 |
หญิง จำนวน 3,813 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.19 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,625 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 90.31 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านหนองชุมแสงตะวันตก |
279 |
267 |
546 |
158 |
|
 |
2 |
|
บ้านหนองแจง |
277 |
297 |
574 |
231 |
 |
|
3 |
|
บ้านหนองชุมแสงตะวันออก |
164 |
165 |
329 |
126 |
|
 |
4 |
|
บ้านบึงตะแบก |
194 |
220 |
414 |
157 |
 |
|
5 |
|
บ้านหนองแจงฝั่งตะวันตก |
288 |
294 |
582 |
230 |
|
 |
6 |
|
บ้านหนองยาวฝั่งตะวันออก |
165 |
145 |
310 |
90 |
 |
|
7 |
|
บ้านถนนโค้ง |
184 |
198 |
382 |
164 |
|
 |
8 |
|
บ้านวังหูดิน |
257 |
273 |
530 |
198 |
 |
|
9 |
|
บ้านลำพื้นทอง |
301 |
266 |
567 |
215 |
|
 |
10 |
|
บ้านหนองแจงใต้ |
254 |
292 |
546 |
193 |
 |
|
11 |
|
บ้านบ่อเดื่อ |
239 |
230 |
469 |
148 |
|
 |
12 |
|
บ้านอู่เรือ |
216 |
190 |
406 |
146 |
 |
|
13 |
|
บ้านบึงสมบูรณ์ |
131 |
133 |
264 |
65 |
|
 |
14 |
|
บ้านหนองชุมแสงเหนือ |
67 |
81 |
148 |
53 |
 |
|
15 |
|
บ้านหนองยาวฝั่งตะวันตก |
155 |
164 |
319 |
89 |
|
 |
16 |
|
บ้านหนองแจงเหนือ |
265 |
257 |
522 |
176 |
 |
|
17 |
|
บ้านคลองปากโบสถ์ |
182 |
182 |
364 |
97 |
|
 |
18 |
|
บ้านโรงวัว |
166 |
159 |
325 |
89 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
3,784 |
3,813 |
7,597 |
2,625 |
 |
|
|
ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2559 ฝ่ายทะเบียนและบัตร อำเภอบึงสามพัน |
|
|